top of page

WAT THAI
BUDDHAGAYA

วัดไทยพุทธคยา ๙๓๕

รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย
สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสรัฐบาลอินเดียจัดงาน "พุทธชยันตี" ฉลองครบ ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ โดยทางรัฐบาลอินเดียได้ส่งสาส์นเชิญมายังประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ให้มาร่วมเฉลิมฉลองด้วยการสร้างวัดที่ดินแดนพุทธภูมิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

ประตูเข้าออก

วัดไทยพุทธคยา

ความร่มรื่นบริเวณภายในวัด

วัดไทยพุทธคยาสร้างจากแรงศรัทธาของรัฐบาลและพุทธศาสนิกชนชาวไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) เป็นประตูบานแรกต้อนรับสาธุชนชาวไทยสู่พุทธภูมิแดนศักดิ์สิทธิ์ และเป็นบ้านที่พักพิงทั้งกายและใจของพุทธบริษัทชาวไทยหลังแรกบนแผ่นดินอินเดีย เป็นที่ประกอบศาสนกุศลอย่างเปี่ยมด้วยปิติสุขและความภาคภูมิใจตลอด ๖๐ กว่าปีที่ผ่านมา 
 
นอกจากนี้ยังเป็นวัดที่มีโดดเด่นสง่างามด้วยสถาปัตยกรรมไทย ท่ามกลางบรรยากาศแวดล้อมที่ร่มรื่น เป็นรมณียสถานที่เหมาะกับการต้อนรับพุทธบริษัทผู้จาริกแสวงบุญและอาคันตุกะผู้มาเยือน เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พุทธศาสนาแก่ศาสนิกชนทั่วโลก เป็นจุดเริ่มต้นการปฏิบัติงานของพระธรรมทูต เป็นที่ศึกษาพระพุทธธรรมอย่างลึกซึ้งของผู้แสวงหาแนวทางอันถูกต้องในการดําเนินชีวิต และเป็นต้นแบบของวัดไทยในต่างประเทศ ที่ครบองค์ประกอบของวัดในพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์ อีกทั้งยังมีสิ่งอํานวยความสะดวกแก่ผู้จาริกแสวงบุญในด้านต่าง ๆ อีกเป็นอันมาก

พระอุโบสถวัดไทยพุทธคยาเป็นสถาปัตยกรรมที่จำลองแบบมาจากพระอุโบสถวัดเบญจม
บพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร อันเป็นงานออกแบบชั้นเลิศที่มีความงดงามและเป็นเอกลักษณ์ ในฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
องค์ “ สมเด็จครู ” นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยามภายในพระอุโบสถประดิษฐาน “ พระพุทธธรรมมิศรชมพูทีปนิวัติสุโขทัย ” พระประธานที่จําลองมาจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก
การเตรียมความพร้อมจัดงาน " พุทธชยันตี " ทางอินเดียได้ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง และสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา สร้างที่พักตามสถานที่สำคัญใน ไว้รับรองพุทธศาสนิกที่จะเดินทางมาร่วมงานและสักการะพุทธสถานในงานนี้ แล้วยังส่งสาส์นเชิญประเทศนับถือพระพุทธศาสนามาสร้างวัดที่แดนพุทธภูมิ เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา

จากจุดเริ่มต้นเมื่อครั้งพระเจ้าอโศกมหาราช ธรรมราชาผู้ปกครองชมพูทวีป และพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ส่งพระธรรมทูตเดินทางไปเผยแผ่พระศาสนายังทุกทิศทาง เมื่อพุทธศักราช ๒๓๖ โดยส่งพระโสณเถระ และพระอุตตรเถระพร้อมด้วยคณะพุทธบริษัทที่สามารถประกอบสังฆกรรมได้ เดินทางมาประกาศศาสนาที่ดินแดนสุวรรณภูมิ ณ พระปฐมเจดีย์ อันเป็นจุดเริ่มต้นการประดิษฐานพระพุทธศาสนาบนแผ่นดินไทย

<

พระพุทธธรรมิศรชมพูทีปนิวัติสุโขทัย พระประธานในพระอุโบสถวัดไทยพุทธคยา

WAT THAI
BUDDHAGAYA

รัฐบาลไทยตอบรับคำเชิญด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ

๑. อินเดียเป็นดินแดนต้นกำเนิดพุทธศาสนา
๒. อินเดียในขณะนั้น ยังมีคนนับถือพุทธศาสนา เพียง ๐.๐๖ เปอร์เซ็นต์ของ
     ประชากร
๓. อินเดียเป็นประเทศที่ชาวพุทธไทยควรได้สนองพระคุณน้อมเป็นพุทธบูชา
     โดยจัดพระสงฆ์ " ปัญจวรรค " เป็นอย่างน้อยมาบำเพ็ญสมณกิจอยู่ประจำ
 
ครั้นเมื่อตอบรับคำเชิญมาสร้างวัด ที่พุทธคยาแล้ว คณะทำงานก็เริ่มดำเนินการประสานงานระหว่างกันผ่านทางสถานทูต และแต่งตั้งคณะกรรมการก่อสร้างวัดไทยพุทธคยา โดยมีพลเอกหลวงสวัสดิ์สรยุทธ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (กระทรวงวัฒนธรรมในรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม) เป็นประธาน คณะกรรมการก่อสร้างวัดไทยพุทธคยา ดำเนินการจัดหาสถานที่สร้างวัด
ลานโพธิ์

ลานโพธิ์

และจากพระประธานในพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเป็นภาพเล่า “ พระมหาชนก ” ที่รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้ถอดแบบจากพระราชนิพนธ์มาเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังอย่างงดงาม และสมจริงดังต้นแบบ

ดังนั้นในการนี้เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงการอุบัติของพุทธศาสนา ณ พุทธคยา สถานที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เมื่อพระชนมรยุ ๓๕ พรรษา ณ ควงไม้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และน้อมรำลึกถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ ๙ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “ วัดไทยพุทธคยา ๙๓๕ ”

ประวัติวัดไทยพุทธคยา

bottom of page